วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563

รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

  • อรสา ทรงศรี
  • ปราศรัย ประวัติรุ่งเรือง
  • ปกรณ์ ประจันบาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารกิจการนักเรียนแบบมี  ส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา  2) สร้างรูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 3) ประเมินรูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ  การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยการสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และแนวปฏิบัติ  เพื่อให้ได้กรอบแนวคิดการวิจัยสำรวจสภาพการบริหารงานกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สัมภาษณ์แนวทางวิธีการปฏิบัติที่ดี (Good  Practice) ในการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วม ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ   สร้างรูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยการสนทนากลุ่ม(focus  group discussion) ของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยใช้แบบสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยการเจาะจง จำนวน  25  คน
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  ประกอบด้วย  3  รูปแบบหลัก และองค์รูปแบบย่อย  ดังนี้ 1) คณะกรรมการกิจการนักเรียน  2) ขอบข่ายการบริหารกิจการนักเรียน  ซึ่งมีรูปแบบย่อยคือ 2.1) งานบริการและสวัสดิการนักเรียน (2.2) งานกิจกรรมนักเรียน (2.3) งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน    (2.4) งานกิจกรรมที่เป็นจุดเน้นและเอกลักษณ์ของสถานศึกษา  3) กระบวนการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วม  รูปแบบได้ผ่านการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ โดยผู้มีส่วนได้เสียกับการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษามีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

DOWNLOADS

vol.20 no.38
การอ้างอิงบทความ
ประเภทบทความ
บรรณาธิการแถลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น